การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ THALENOI UNPLUGGED CODING
เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงคำนวน รายวิชาวิทยาการคำนวณ
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยเทคนิคการเรียนรู้โดยใช้
ปัญหาเป็นฐาน (Problem–based Learning : PBL)
จากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในรายวิชาวิทยาการคำนวณ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง แนวคิดเชิงคำนวณ พบว่า นักเรียนยังขาดทักษะกระบวนการคิดสับสนในขั้นตอนการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ ไม่สามารถคัดเลือกคุณลักษณะที่จำเป็นต่อการแก้ปัญหา ขั้นตอนการแก้ปัญหา การเขียนรหัสลำลองและผังงานไม่ได้ ข้าพเจ้าจึงมีแนวคิดในการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน THALENOI UNPLUGGED CODING เพื่อส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนได้ฝึกใช้แนวคิดเชิงคำนวณ การคิดอย่างเป็นระบบ คิดอย่างมีเหตุมีผล สามารถถ่ายทอดแนวคิดการแก้ปัญหาโดยใช้แนวคิดเชิงนาม สามารถสร้างภาพให้เห็นการทำงานเป็นขั้นตอน และวิธีการคิดแก้ปัญหาที่เป็นระบบ สามารถนำวิธีคิดเชิงคำนวณไปปรับใช้แก้ไขปัญหาการเรียนในวิชาต่าง ๆ หรือแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ด้วยเทคนิคการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem–based Learning : PBL)
เชิงปริมาณ
- นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ร้อยละ 100 ได้รับการพัฒนาทักษะการคิดเชิงคำนวณ
- นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ร้อยละ 70 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาวิทยาการคำนวณผ่านเกณฑ์การประเมินของสถานศึกษา
เชิงคุณภาพ
- นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีความพึงพอใจในการเรียนด้วยสื่อการเรียนรู้ THALENOI UNPLUGGED CODING เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงคำนวน ด้วยเทคนิคการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem -based - Learning : PBL) อยู่ในระดับ มาก
- นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาแนวคิดเชิงคํานวณ และสามารถนําความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ไปเชื่อมโยงแก้ปัญหากับชีวิตประจําวัน เพื่อใช้ในการตัดสินใจในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
- ได้นวัตกรรมที่ใช้เป็นสื่อการประกอบในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาคอมพิวเตอร์
สรุปผลดำเนินการ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ร้อยละ 100 ได้รับการพัฒนาทักษะการคิดเชิงคำนวณ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชา วิทยาการคำนวณ สูงกว่าค่าเป้าหมายที่โรงเรียนกำหนด คิดเป็นร้อยละ 71.80 โดยมีนักเรียนที่ได้เกรด 3 ขึ้นไป จำนวน 18 คน คิดเป็น ร้อยละ 72.00
นักเรียนพึงพอใจต่อเทคนิคการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem–based Learning : PBL) อยู่ในระดับมาก ( X = 4.48, S.D. = 0.10 )